ผ้าทอไทยพวนศรีสัชนาลัยน้ันมี ๒ ประเภท คือ ผ้าทอเพื่อใช้สอยในชีวิตประจำวัน ผ้าประเภทนี้จะไม่เน้นความประณีตสวยงามนักแต่จะเน้นความแน่นความหนาของเนื้อผ้า เพื่อให้คงทนให้ใช้ได้นานวัน ผ้าทอประเภทนี้ได้แก่ ผ้าซิ่นลายต่างๆ ผ้าห่ม ผ้านวม ผ้าพิ้นย้อมครามหรือย้อมมะเกลือ ผ้าทำถุงย่าม เป็นต้น ส่วนผ้าทออีกประเภทหนึ่งนั้นทออย่างประณีตงดงาม เพื่อใช้ในโอกาสพิเศษหรือโอกาสสำคัญ ผ้าทอประเภทนี้ได้แก่ ผ้าซิ่นตีนจก ซึ่งสร้างชื่อเสียงและเกียรติภูมให้กับชาวไทยพวนศรีสัชนาลัยเป็นอย่างยิ่ง ลายตีนจกที่นิยมทอมีเก้าลาย ซึ่งมีชื่อเรียกขานว่า ลายเครือน้อย ลายเครือกลาง ลายเครือใหญ่ ลายมนสิบหก ลายสิบสองหน่วยตัด ลายน้ำอ่าง ลายท้องสอง ลายแปดขอ และลายสี่ขอ ผ้าซิ่นคนพวนศรีสัชนาลัยนั้นจะจะมีส่วนประกอบอยู่สามส่วน คือ หัวซิ่น ตัวซิ่น และตีนซิ่น ทั้งนี้เพราะสมัยโบราณนิยมทอด้วยฟืมหน้าแคบ "ตัวซิ่น" จะสั้นต้อง "ต่อหัว ต่อตีน" จึงจะนุ่งได้ ตีนจกทั้งเก้าลายมีความวิจิตรงดงามแฝงไว้ด้วยแง่คิดอันทรงคุณค่า เป็นลายตีนซิ่นที่หญิงชาวไทยพวนศรีสัชนาลัยประดิดประดอยมาเป็นตีนซิ่นของตนเอง และด้วยภูมปัญญาที่ชาญฉลาดจึงบังเกิดตีนจกถึงเก้าลายอันควรค่าแก่การบันทึกไว้มืให้ลืมหลง
ลายนกแถว เป็นลายที่มีความหมายถึงการมีระเบียบในสังคมวงศ์วานว่านเครือ หรือที่เรียกกันว่าไปกันเป็นแถวเป็นแนว มีทิศทางในการประกอบการที่จะทำให้สังคมเจริญรุ่งเรืองในทาง้ดียวกัน แม่ลายขนาดเล็กนี้จะใช้เป็นองค์ประกอบของลาย ๘ ขอเท่านั้น
ประวัติของไทยพวนศรีสัชนาลัย
วิถีชีวิตของไทยพวนศรีสัชนาลัย
วัฒนธรรมการแต่งกายของไทยพวน
ผ้าทอตีนจกเก้าลายไทยพวนศรีสัชนาลัย
งานประเพณี 12 เดือน
งานประเพณีที่มีการฉลอง
การเอาผัวเอาเมีย (การแต่งงาน)
อุปกรณ์การทอผ้าไทยพวนศรีสัชนาลัย
ขั้นตอนการทอผ้าไทยพวนศรีสัชนาลัย
รายการทั่วถิ่นแดนไทย ตอน สืบสานตำนานชาวไทยพวนบ้านหาดเสี้ยว
รายการเที่ยวละไมไทยแลนด์เวิลด์ ตอน เที่ยวศรีสัชนาลัย ชมวิถีชีวิตชาวสุโขทัย
รายการเพื่อนคู่คิด ตอน ธุรกิจผ้าซิ่นตีนจก
รายการ Thailand Intrend ตอน เยือนสุโขทัยเมืองมรดกโลก
รายการ Travel Note ตอน เที่ยวสุโขทัย
รายการกุสุมาพาทูตเที่ยวไทย ตอน สุโขทัย