วัฒนธรรมการแต่งกายของชาวไทยพวนศรีสัชนาลัย

ไทยพวนศรีสัชนาลัย
การแต่งกายโบราณแบบชาวไทยพวนศรีสัชนาลัย
 

การแต่งกายในวิถีชีวิตประจำวันของชาวไทยพวนศรีสัชนาลัย มีการแต่งกายที่คล้ายกันของแต่ละหมู่บ้านคือ ผู้ชายจะสวมใส่เสื้อหม้อฮ่อมกางเกงหม้อฮ่อมผ้าขาวม้าคาดเอวในวันปกติที่ทำงานหนักและไปร่วมงานศพ เมื่อไปทำบุญงานต่างๆ จะใส่เสื้อคอกลมแขนยาวบ้างแขนสั้นบ้างสีสุภาพมีผ้าขาวม้าคาดเอวและพาดบ่า ผู้หญิงที่ยังไม่ได้แต่งงานจะสวมผ้าถุงสีแดงและคาดอก หรือใส่เสื้อด้วยสีสันที่สวยงามมวยผมเสียบผมด้วยขนเม่น หรือผู้ที่มีฐานะพอสมควรก็จะเสียบด้วยปิ่นเงิน ส่วนผู้หญิงที่แต่งงานมีครอบครัวนั้นจะคาดอกด้วยขะหัวแล้ (ผ้าขาดอกสีน้ำเงิน) หรือผ้าขะหัวสีขาวนุ่งซิ่นเข็น ซิ่นมุกสีดำ

 
ซิ่นตีนแดง ซิ่นตีนดำ
 
 
การแต่งกายพื้นบ้านของชาวไทยพวน
 
ประมาณปี ๒๕๓๖ - ๒๕๓๗ นายสาธร โสรัจประสพสันติ ได้คิดค้นผ้าซิ่นรูปแบบใหม่ ให้ชื่อว่า "ซิ่นเกี๊ยะ" โดยได้แรงบันดาลใจจากความงามของดอกเกี๊ยะ ดอกไม้งดงามของเมืองเหนือ นายสาธรได้ให้ นางสาวพรหม เข็มทอง หมู่ ๒ บ้านหาดเสี้ยวเป็นผู้ค้นหุ เมื่อทอออกมาแล้วจะได้ลวดลายนกคุ้ม นกคาบ ดอกหมี่ แม่ลายหลักแบบเดิมแต่เปลี่ยนตำแหน่งและตีนซิ่นยังคงใช้ตีนจกที่ลายสอดคล้องกับลายเล็กๆที่เป็นตัวซิ่นดังภาพ ด้านล่าง
 
ซิ่นเกี๊ยะ คิดค้นโดยคุณสาธร
 
กลับสู่ด้านบน >
 
ภาษาไทยพวนโบราณ
 
เกียรติคุณที่ได้รับ
 
ดูวีดีโอจากรายการต่างๆ
รวมรูปภาพ
 
 
ที่อยู่: 477/2 ต.หาดเสี้ยว อ. ศรีสัชนาลัย จ. สุโขทัย 64130 โทร. 055 671143 แฟกซ์. 055 630119
 
 
 
© Copyright 2012. Sathorn Gold Textiles Museum. All rights reserved.